วันเสาร์, เมษายน 27, 2024

เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร

นักศึกษาที่มีสิทธิ์ได้รับปริญญา ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน ดังต่อไปนี้
     นักศึกษาได้ขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางและต้องศึกษารายวิชาต่างๆ ให้ครบตามหลักสูตรของสาขาวิชานั้นๆ โดยมีหน่วยกิตสะสมรวมไม่ต่ำกว่าที่หลักสูตรกำหนดไว้และได้ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 2.00 ตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2564

 

นักศึกษาที่มีสิทธิ์แสดงความจำนงขอสำเร็จการศึกษา ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน ดังนี้
  1. เป็นนักศึกษาภาคการศึกษาสุดท้ายที่ลงทะเบียนเรียนครบตามหลักสูตรและคาดว่าจะสำเร็จการศึกษา
  2. ผ่านกิจกรรมภาคบังคับ ตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
  3. ให้นักศึกษาที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในข้อ 1. และ 2. ยื่นคำร้องแสดงความจำนงขอสำเร็จการศึกษาต่อส่วนทะเบียนและประเมินผล ภายในระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด มิฉะนั้นอาจไม่ได้รับการพิจารณาเสนอชื่อต่อสภามหาวิทยาลัยเพื่ออนุมัติให้ปริญญาในภาคการศึกษานั้น

ความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา

สิ้นปีที่วิชาชีพที่คาดหวังเมื่อสิ้นปีการศึกษารายละเอียดความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาเมื่อสิ้นปีการศึกษา
1นักเขียนโปรแกรมมือใหม่
(Basic Programmer)
(องค์ความรู้) นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ ตรรกศาสตร์ การคำนวณ การวิเคราะห์วงจรดิจิทัล และการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น รู้จักเครื่องมือช่างและเครื่องมือวัดเบื้องต้น หลักการทำงานและการใช้งานอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์

(ทักษะ) นักศึกษาสามารถปฏิบัติการซ่อมบำรุงเครื่องคอมพิวเตอร์ ติดตั้งโปรแกรมตามลักษณะงาน การบำรุงรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ การแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น การเขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์เบื้องต้น และเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้นได้
2นักจัดการฐานข้อมูล
(Database Administrator)
(องค์ความรู้) นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับหลักการวิเคราะห์วงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีทักษะการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์เบื้องต้นด้วยอัลกอริทึม การเลือกใช้เครื่องมือทางฮาร์ดแวร์และประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ และระบบจัดการฐานข้อมูลได้

(ทักษะ) นักศึกษาสามารถปฏิบัติการวิเคราะห์วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น ประยุกต์ใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ดำเนินการจัดการบัญชีแอคเคาท์ จัดสรรพื้นที่บนระบบปฏิบัติการ จัดการระบบฐานข้อมูลด้วยภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง และเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เชิงวัตถุได้
3วิศวกรเครือข่าย
(Network Engineer)
(องค์ความรู้) นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับหลักการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หลักการบริหารโครงการซอฟต์แวร์ มีทักษะการวิเคราะห์และออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ มีพื้นฐานวิชาชีพในการพัฒนาและทดสอบโปรแกรมคอมพิวเตอร์

(ทักษะ) นักศึกษาสามารถปฏิบัติการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ พัฒนาเว็บไซต์ พัฒนาแอปพลิเคชัน เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ควบคุมอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ และสามารถดำเนินการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งแบบมีสายและแบบไร้สายได้
4วิศวกรคอมพิวเตอร์
(Computer Engineer)
(องค์ความรู้) นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะการวิเคราะห์องค์ความรู้ด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มีทักษะเฉพาะทางที่จำเป็นสำหรับวิชาชีพ (Hard Skills) และทักษะทางสังคม (Soft Skills) มีจรรยาบรรณทางวิชาชีพ มีกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ แปลความหมาย และเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์อย่างสร้างสรรค์

(ทักษะ) นักศึกษาสามารถบูรณาการและประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้ศึกษาในการดำเนินโครงงานวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ/สหกิจศึกษา และการทำงานจริง สามารถแก้ไขปัญหาและตัดสินใจที่เกิดขึ้นได้ด้วยการศึกษาและการสะสมประสบการณ์ทางวิชาชีพจากสถานประกอบการ